ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาล

เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

เมนูหลัก

การปฏิบัติในภาวะฉุกเฉิน

ช่วงระยะภายใน 24 ชั่วโมง

1. การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

แนวทางปฏิบัติ
1. สั่งใช้หน่วยกู้ชีพกู้ภัย เครื่องมือเครื่องจักรกล วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการกู้ชีพกู้ภัยเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ประสบภัย อพยพ ค้นหา ปฐมพยาบาลผู้ประสบภัย รวมทั้งขนย้ายสัตว์เลี้ยง ปศุสัตว์ไปยังที่ปลอดภัย ซึ่งเป็นพื้นที่รองรับการอพยพหรือเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราว โดยมีการลงทะเบียนผู้อพยพ สัตว์เลี้ยง และปศุสัตว์ด้วย
2. 
กรณีมีผู้บาดเจ็บให้นำผู้บาดเจ็บมาที่จุดรวบรวมผู้บาดเจ็บเพื่อปฐมพยาบาล และนำผู้บาดเจ็บส่งต่อไปยังสถานพยาบาล โรงพยาบาลต่อไป
3. สนับสนุนเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็นแก่การดำรงชีพ เช่น อาหารปรุงสำเร็จ น้ำดื่ม ให้แก่ประชาชนที่ประสบภัยให้เพียงพอและทั่วถึง
4. กรณีพื้นที่ใดเป็นพื้นที่วิกฤติ จำเป็นต้องช่วยเหลือผู้ประสบภัยอย่างเร่งด่วน แต่ไม่สามารถเข้าออกพื้นที่ได้ ให้ประสานขอรับการสนับสนุนยานพาหนะจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเหนือขึ้นไป
 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ผู้อำนวยการท้องถิ่น/หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. ฝ่ายการเงิน
3. ประธานชุมชน
4.
อปพร.
5. อสม./อาสาสมัครต่างๆ

2. การระงับเหตุ

แนวทางปฏิบัติ
1. สำรวจและกำหนดพื้นที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัย เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร เพื่อง่ายต่อการควบคุมทรัพยากรสำหรับปฏิบัติงาน
2. 
กำหนดกิจกรรม และงานที่ต้องดำเนินการ
3. กำหนดผู้รับผิดชอบ และจำนวนเจ้าหน้าที่ที่สอดคล้องกับสถานการณ์
4. กำหนดช่วงเวลาการปฏิบัติงาน
5. ระดมทรัพยากร ทั้งกำลังคนหรือวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่มีความพร้อมมายังจุดรวบรวมทรัพยากรเพื่อรอรับการมอบหมายภารกิจ
6. กั้นมิให้ผู้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าไปในพื้นที่ที่เกิดสาธารณภัยและพื้นที่ใกล้เคียง
7. สั่งใช้หน่วยกู้ชีพกู้ภัย เครื่องมือเครื่องจักรกล วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นในการกู้ชีพกู้ภัยเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ประสบภัย เพื่อควบคุมสถานการณ์ไม่ให้ลุกลามขยายตัวโดยดำรงการสื่อสารตลอดเวลา  
8. ตรวจสอบเส้นทางคมนาคมที่รับผิดชอบ ที่เกิดการชำรุดเสียหายจากภัย พร้อมทั้งติดป้ายเตือนให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางได้ทราบ และปิดกั้นช่องทางการจราจรและจัดเจ้าหน้าที่หรืออาสาสมัคร อำนวยความสะดวกการจราจรในจุดอันตราย
9. จัดให้มีการรวบรวมข้อมูล การแลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการตอบโต้สถานการณ์บนพื้นฐานของข้อมูลที่รวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ
 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ผู้อำนวยการท้องถิ่น/หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย
3. ฝ่ายอำนวยการ
4. 
ฝ่ายการเงิน
5. ประธานชุมชน
6. อาสาสมัครแพทย์ฉุกเฉิน
7. อปพร./อาสาสมัครต่างๆ

ช่วงระยะ 24 – 48 ชั่วโมง

1. การรักษาพยาบาล

แนวทางปฏิบัติ

          ขอรับการสนับสนุนแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ยา และเวชภัณฑ์ จากสถานพยาบาล โรงพยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ช่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ประสบภัยและส่งต่อผู้บาดเจ็บและผู้ป่วย 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ผู้อำนวยการท้องถิ่น/หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. อาสาสมัครแพทย์ฉุกเฉิน
3. อสม.,อาสาสมัครต่างๆ
4. 
สถานพยาบาล โรงพยาบาล 

2. การรักษาความปลอดภัย และความสงบเรียบร้อย

แนวทางปฏิบัติ

          กำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัย รักษาความสงบเรียบร้อย จัดระบบการจราจรภายในพื้นที่รองรับการอพยพ  

ผู้รับผิดชอบ
   
ฝ่ายรักษาความสงบเรียบร้อย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก

3. การซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน

แนวทางปฏิบัติ

          กรณีที่โครงสร้างพื้นฐานได้รับความเสียหายให้ดำเนินการซ่อมแซมให้พอใช้การได้ หรือจัดให้มีระบบโครงสร้างพื้นฐานสำรองเพื่อให้ชุดปฏิบัติการสามารถปฏิบัติงานในพื้นที่ได้  

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายฟื้นฟูบูรณะ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. ฝ่ายการเงิน 

4. การสงเคราะห์ผู้ประสบภัย

แนวทางปฏิบัติ
1. สำรวจความต้องการของผู้ประสบภัยในเบื้องต้น และจัดทำรายการความต้องการของผู้ประสบภัย เพื่อกำหนดมาตรการช่วยเหลือในช่วงระหว่างเกิดภัย
2. 
จัดตั้งศูนย์ข้อมูลผู้ประสบภัย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูล และประสานงานแก่ประชาชนผู้ประสบภัย 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ฝ่ายการเงิน/ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. อปพร.,อสม.,อาสาสมัครต่างๆ ฯลฯ

5. การรายงานสถานการณ์

แนวทางปฏิบัติ

          จัดเตรียมเจ้าหน้าที่เพื่อรายงานสถานการณ์ให้กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ และกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดทราบ จนกระทั่งสถานการณ์ภัยสิ้นสุด  

ผู้รับผิดชอบ
   
ผู้อำนวยการท้องถิ่น/หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก

6. การประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ

แนวทางปฏิบัติ

          กรณีต้องขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงาน องค์กรภายนอกให้รายงานและประสานขอรับการสนับสนุนจากกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเหนือขึ้นไป
          
วิทยุสื่อสาร ความถี่ 162.550 MHz
          โทรศัพท์สายด่วน 199 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ผู้อำนวยการท้องถิ่น เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. ฝ่ายอำนวยการ

ช่วงระยะ 48 – 72 ชั่วโมง

การสงเคราะห์เบื้องต้น

แนวทางปฏิบัติ
1. จัดให้มีหน่วยสงเคราะห์ผู้ประสบภัยและหน่วยรักษาพยาบาล
2. 
กรณีมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ประสานกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอำเภอ และกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
3. ประสานการช่วยเหลือรับเรื่องราวร้องทุกข์ เตรียมการสำรวจความเสียหายเบื้องต้น ความต้องการเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลในการรายงานไปยังกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับเหนือขึ้นไป

ผู้รับผิดชอบ 
1. ผู้อำนวยการท้องถิ่น/หัวหน้าฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. ฝ่ายการเงิน
3. ประธานชุมชน
4. 
อปพร.
5. อสม./อาสาสมัครต่างๆ

ช่วงระยะ 72 ชั่วโมงขึ้นไป

การช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยและการสนับสนุนการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่

แนวทางปฏิบัติ
1. ดำเนินการเยียวยาสภาพจิตใจผู้ประสบภัย
2. 
ดำเนินการผลัดเปลี่ยนกำลังเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
3. ตรวจสอบความสมบูรณ์และซ่อมแซมเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ต่างๆ ให้พร้อมใช้ปฏิบัติงาน
4. จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวก และวัสดุอุปกรณ์ เชื้อเพลิง พลังงาน เสบียง น้ำ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง 
 

ผู้รับผิดชอบ 
1. ผู้อำนวยการท้องถิ่น/หัวหน้าฝ่ายป้องกันและปฏิบัติการ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก
2. ฝ่ายอำนวยการ
3. ฝ่ายการเงิน