ฝ่ายป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สำนักปลัดเทศบาล

เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

วิเคราะห์ SWOT Analysis

จุดแข็ง (Steregths)

1. กลุ่มเป้าหมายการให้บริการของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยชัดเจนทำให้สามารถกำหนดยุทธศาสตร์/มาตรการ/แผนงานโครงการ/กิจกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ

2. มีพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 รองรับให้หน่วยงานของงานมีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายใช้ในการขับเคลื่อนงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ครอบคลุมทั้งด้านวิชาการอำนวยการและปฏิบัติการ

3. บุคลากรของงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยมีความหลากหลายสาขาอาชีพทำให้มีทักษะความรู้และประสบการณ์ในด้านต่างๆ และสามารถใช้ความรู้ที่หลากหลายเกื้อกูลบูรณาการกัน

4. ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทุกศูนย์มีเครื่องจักรกลยานพาหนะอุปกรณ์ด้านสาธารณภัยทำให้เทศบาลนครขอนแก่นมีเครื่องจักรกลยานพาหนะอุปกรณ์ด้านสาธารณภัยอยู่ในทุกศูนย์

จุดอ่อน (Weaknesses)

1. ระบบฐานข้อมูลด้านสาธารณภัยระดับจังหวัดยังขาดความสมบูรณ์และเป็นเอกภาพทำให้การตัดสินใจหรือสั่งการล่าช้า และขาดการเชื่อมโยงฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องจักรของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้เป็นคลังข้อมูลสาธารณภัย

2. งานด้านป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขาดผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้เฉพาะทางด้านสาธารณภัยทำให้การวิเคราะห์และการประเมินสถานการณ์ขาดความน่าเชื่อถือและขาดผู้เชี่ยวชาญแต่ละประเภทภัยในเชิงลึกที่สามารถให้คำปรึกษาเพื่อแก้ปัญหากับผู้บริหารระดับสูง

3. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขาดการให้ความรู้และการประชาสัมพันธ์เชิงรุกผ่านสื่อต่างๆ อย่างกว้างขวางทำให้หน่วยงานเอกชนองค์กรเครือข่ายและประชาชนไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลองค์ความรู้และความร่วมมือในการทำงานร่วมกันเพื่อการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

4. งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยขาดระบบในการเข้าปฏิบัติงานช่วยเหลือในพื้นที่ที่เกิดกรณีภัยพิบัติฉุกเฉินและสาธารณภัยที่มีขนาดใหญ่และขาดความพร้อมด้านบุคลากรอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้รวมทั้งสถานที่ไม่เอื้อต่อการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

โอกาส (Opportunities)

1. แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557 (คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2552) แผนหลักการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2553-2557 (คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนฯ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553) และแผนแม่บทด้านสาธารณภัยประเภทต่างๆ ของจังหวัดใช้เป็นกรอบและแนวทางการบริหารจัดการสาธารณภัยได้ทำให้สามารถขับเคลื่อนระบบและขบวนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ทำให้สามารถขับเคลื่อนระบบและขบวนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้บรรลุเป้าหมาย

2. รัฐบาลให้ความสำคัญกับภารกิจด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและผลักดันการจัดการสาธารณภัยไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

3. มีระบบการสื่อสาร/เครือข่ายที่มีความทันสมัยและมีภาคีเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีที่สามารถสนับสนุนงานด้านสาธารณภัย

ภัยคุกคาม (Threats)

1. ขาดการบูรณาการของหน่วยงานในระดับจังหวัดทำให้แก้ปัญหาแบบแยกส่วนส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการแก้ปัญหาภัยพิบัติ

2. การขยายตัวของชุมชนโดยไม่มีการจัดวางผังเมืองที่ดีและการดำเนินการตามมาตรการควบคุมอาคารโครงสร้าง เช่น ชุมชนแออัด/ไม่มี Zoning/การตั้งที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดความเสียหายรุนแรงเมื่อเกิดภัยพิบัติ

3. ประชาชนยังขาดความรู้และขาดจิตสำนึกในการป้องกันสาธารณภัยและไม่ตระหนักถึงผลกระทบของภัยที่อาจเกิดขึ้นได้จึงมักจะมีพฤติกรรมที่เสี่ยงและล่อแหลมต่อการเกิดภัยแม้จะมีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

4. เนื่องจากมีหลายหน่วยงานที่เข้ามาปฏิบัติงานในด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยทำให้ขาดเอกภาพในการบริหารจัดการสาธารณภัย

5. หน่วยงานภาคีเครือข่ายบางหน่วยงานมีความพยายามที่จะดำเนินงานด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเชิงรุกเพื่อแบ่งงานด้านสาธารณภัยไปปฏิบัติ